Thai Chinese (Traditional) English French Italian Portuguese Russian
พระพุทธศักดิ์สิทธิ์ วัดโพรงจระเข้
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สืบทอดพระพุทธศาสนา
นำทางสู่การพ้นทุกข์

ขุททกนิกายภาค ๑

เอกนิบาต

๑. อปัณณกวรรค

เสรีววาณิชชาดก

ว่าด้วยเสรีววาณิช

      พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุ รูปหนึ่งผู้ละความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ดังนี้ก็พระศาสดาทรงเห็นภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลาย นำมาโดยนัยก่อนนั่นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ  เธอบวชในศาสนาอันให้ มรรคผลเห็นปานนี้ เมื่อละความเพียรเสีย จักเศร้าโศกตลอดกาลนาน เหมือน เสรีววาณิชเสื่อมจากถาดทองอันมีค่าแสนหนึ่งฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอน พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงเรื่องนั้น ให้เเจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงอดีตนิทานไว้ดังนี้ในอดีตกาล ในกัปที่ ๕ แต่ภัทรกัปนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพ่อค้าเร่  ในแคว้นเสริวรัฐ เสรีววาณิชนั้น เมื่อออกเดินทางไปค้าขายก็ไปกับพ่อค้าเร่ผู้โลเลคนหนึ่ง ชื่อว่า เสรีวะ ก็ข้ามแม่น้ำชื่อว่า นีลพาหะ แล้วเข้าไปยังพระนครชื่อว่า อริฏฐปุระ แบ่งเขตถนนในนครกันแล้ว ต่างก็ไปเที่ยวขายสินค้าในถนนที่เป็นเขตของตนก็ในนครนั้น ได้มีตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง เป็นตระกูลเก่าแก่ บุตร พี่น้อง และทรัพย์สินทั้งปวง ได้หมดสิ้นไป ได้มีเด็กหญิง คนหนึ่งเหลืออยู่กับยาย ยายหลานแม้ทั้งสองนั้น กระทำการรับจ้างคนอื่นเลี้ยงชีวิต ก็ในเรือนได้มีถาดทองที่ได้รับตกทอดมาถูกเก็บไว้กับภาชนะอื่น ๆ เมื่อไม่ได้ใช้สอยมานาน เขม่าก็จับ ยายและหลาน เหล่านั้นไม่รู้ว่าถาดนั้นเป็นถาดทองคำสมัยนั้น วาณิชโลเลคนนั้น เที่ยวร้องขายของว่า “มีเครื่องประดับมาขาย มีเครื่องประดับมาขาย”ครั้นได้ไปถึงประตูบ้านนั้น กุมาริกานั้นเห็นวาณิช นั้นจึงกล่าวกะยายว่า “ยาย ขอยายจงซื้อเครื่องประดับอย่างหนึ่งให้หนู”ยายกล่าวว่า “หนูเอ๋ย เราเป็นคนจน จักเอาอะไรไปซื้อ”กุมาริกากล่าวว่า “พวกเรามีถาดใบนั้นอยู่ และถาดใบนั้นไม่มีประโยชน์แก่พวกเรา จงให้ถาดใบนี้แล้ว แลกเอาเครื่องประดับมาเถิด” ยายจึงให้เรียกนายวาณิชมาแล้วให้นั่งบนอาสนะ ให้ถาดใบนั้นแล้วกล่าวว่า “เจ้านาย ท่านจงถือเอาถาดนี้ แล้วให้เครื่องประดับ อะไร ๆ ก็ได้แก่หลานสาวของฉัน” นายวาณิชเอามือจับถาดนั้น คิดว่าจักเป็นถาดทอง จึงพลิกเอาเข็มขีดที่หลังถาด รู้ว่าเป็นทอง จึงคิดว่า เราจักไม่ ให้อะไร ๆ แก่คนเหล่านี้ จักนำเอาถาดนี้ไป แล้วกล่าวว่า “ถาดใบนี้จะมีราคาอะไร ราคาของถาดใบนี้แม้กึ่งมาสกก็ยังไม่ถึง”จึงโยนไปที่พื้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.พระโพธิสัตว์คิดว่า คนอื่นย่อมเข้าไปยังถนนที่นายวาณิชเจ้าของเขตนั้น เข้าไปขายของและออกไปแล้วได้ จึงเข้าไปยังถนนนั้นร้องขายของว่า “มีเครื่องประดับมาขาย”และได้ไปถึงประตูบ้านนั้นแหละ กุมาริกานั้นกล่าวกะยายเหมือนอย่างนั้นแหละอีก ลำดับนั้น ยายได้กล่าวกะกุมาริกานั้นว่า “หลานเอ๋ย นายวาณิช ผู้มายังเรือนนี้ โยนถาดนั้นลงบนพื้นไปแล้ว บัดนี้ เราจักให้อะไรแลกกับเครื่องประดับ”กุมาริกากล่าวว่า “ยาย นายวาณิชคนนั้นพูดจาหยาบคาย ส่วนนายวาณิชคนนี้ น่ารัก พูดจาอ่อนโยน คงจะรับเอา”ยายกล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้นจงเรียกเขามา”กุมาริกานั้นจึงเรียกนายวาณิชนั้นมา ลำดับนั้น ยายและหลานได้ให้ถาดใบนั้นแก่พระโพธิสัตว์นั้น ผู้เข้าไปยังเรือนแล้วนั่ง พระโพธิสัตว์นั้นรู้ว่าถาดนั้นเป็นถาดทอง จึงกล่าวว่า “แม่ ถาดใบนี้มีค่าตั้งแสน สินค้าอันมีค่าเท่าถาด ไม่มีในมือของเรา” ยายและหลานจึงกล่าวว่า “เจ้านาย นายวาณิชผู้มาก่อนพูดว่า ถาดใบนี้มีค่าไม่ถึงแม้กึ่งมาสก แล้วเหวี่ยงถาดลงพื้นไป แต่ถาดใบนี้จักเกิดเป็นถาดทอง เพราะบุญของท่าน พวกเราให้ถาดใบนี้แก่ท่าน ท่านให้อะไร ๆ ก็ได้แก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดใบนี้ไปเถิด”ขณะนั้น พระโพธิสัตว์จึงให้กหาปณะ ๕๐๐ ซึ่งมีอยู่ในมือ และสินค้าซึ่งมีราคา ๕๐๐ กหาปณะ ทั้งหมด แล้วขอเอาไว้เพียงเท่านี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงให้ตาชั่งนี้กับ ถุง และกหาปณะ ๘ กหาปณะแก่ข้าพเจ้า แล้วถือเอาถาดนั้นหลีกไป”พระโพธิสัตว์นั้นรีบไปยังฝั่งแม่น้ำ ให้นายเรือ ๘ กหาปณะ แล้วขึ้นเรือไป ฝ่ายนายวาณิชพาล หวนกลับไปเรือนนั้นอีก แล้วกล่าวว่า “ท่านจง นำถาดใบนั้นมา เราจักให้อะไร ๆ บางอย่างแก่ท่าน”หญิงนั้นบริภาษนายวาณิชพาลคนนั้นแล้วกล่าวว่า “ท่านได้กระทำถาดทองอันมีค่าตั้งแสนของพวกเรา ให้มีค่าเพียงกึ่งมาสก แต่นายวาณิชผู้มีธรรมคนหนึ่งเหมือนกับนายท่านนั่นแหละ ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดทองนั้นไปแล้ว”นายวาณิชพาล ได้ฟังดังนั้น คิดว่า เราเป็นผู้เสื่อมจากถาดทองอันมีค่าตั้งแสน วาณิชคนนี้ ทำความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงแก่เราหนอ เกิดความโศกมีกำลัง ไม่อาจดำรง สติไว้ได้ จึงสลบไป (พอฟื้น) ได้โปรยกหาปณะที่อยู่ในมือ และสิ่งของไว้ที่ประตูเรือนนั่นแหละ ทิ้งผ้านุ่งผ้าห่ม ถือคันชั่งทำเป็นไม้ค้อน หลีกไปตามรอยเท้าของพระโพธิสัตว์ ไปถึงฝั่งแม่น้ำนั้น เห็นพระโพธิสัตว์กำลังไปอยู่ จึงกล่าวว่า “นายเรือผู้เจริญ ท่านจงกลับเรือ”พระโพธิสัตว์ห้ามว่า “อย่ากลับ.”เมื่อนายวาณิชพาล แม้นอกนี้ เห็นพระโพธิสัตว์ไปอยู่นั่นแล เกิดความโศกมีกำลัง หทัยร้อน เลือดพุ่งออกจากปาก หทัยแตก เหมือนโคลนในบึงฉะนั้น วาณิชพาลนั้นผูกอาฆาตในพระโพธิสัตว์ของพระเทวทัตเป็นครั้งแรก พระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น ได้ไปตามยถากรรม.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่าถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือความแน่นอนแห่งพระสัทธรรมในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือดร้อนใจในภายหลัง สิ้นกาลนาน เหมือนวาณิชชื่อ เสรีวะผู้นี้ ฉะนั้นพระศาสดาทรงถือเอาถาดทองด้วยพระหัตถ์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ แก่ภิกษุนี้อย่างนี้ แล้วทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ แม้พระศาสดาก็ทรงตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า วาณิชพาลในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัตในบัดนี้ นายวาณิชผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็น เราเอง ทรงให้เทศนาจบลงแล้ว.  คาถาประจำชาดก อิธ เจ นํ วีราเธสิ                    สทฺธมฺมสฺส นิยามกํจิรํ ตวํ อนุตปฺเปสิ                   เสริวายํว วาณิโชติถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือความแน่นอนแห่งพระสัทธรรมในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือดร้อนใจในภายหลัง สิ้นกาลนาน เหมือนวาณิชชื่อ เสรีวะ ผู้นี้ ฉะนั้น 

อรรถกถาชาดกพระเจ้า 547 พระชาติ

เชิญร่วมบุญ