
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
โมเนยยสูตร
[๕๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉนคือ ความเป็นมุนีทางกาย ๑ ความเป็นมุนีทางวาจา ๑ ความเป็นมุนีทางใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเป็นมุนีทางกายเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเป็นมุนีทางวาจาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางวาจา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเป็นมุนีทางใจเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ อย่างนี้แล ฯ
ผู้ที่เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มี
อาสวะ เป็นมุนี สมบูรณ์ด้วยความเป็นมุนี บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวว่า เป็นผู้ละเสียได้ทุกอย่าง
อาสวะ เป็นมุนี สมบูรณ์ด้วยความเป็นมุนี บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวว่า เป็นผู้ละเสียได้ทุกอย่าง
จบอาปายิกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาปายิกสูตร ๒. ทุลลภสูตร ๓. อัปปเมยยสูตร ๔. อเนญชสูตร
๕. อยสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. กัมมันตสูตร ๘. โสเจยยสูตรที่ ๑
๙. โสเจยยสูตรที่ ๒ ๑๐. โมเนยยสูตร ฯ
๕. อยสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. กัมมันตสูตร ๘. โสเจยยสูตรที่ ๑
๙. โสเจยยสูตรที่ ๒ ๑๐. โมเนยยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------