
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ปาปณิกสูตรที่ ๒
[๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมถึงความมีโภคทรัพย์มากมายเหลือเฟือไม่นานเลย องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนที่มีตาดี ๑ มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยบุคคลที่จะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีตาดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ย่อมรู้สิ่งที่จะพึงซื้อขายว่า สิ่งที่พึงขายนี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไปเท่านี้ จักได้ทุนเท่านี้ มีกำไรเท่านี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีตาดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่ามีธุระดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนฉลาดที่จะซื้อและขายสิ่งที่ตนจะพึงซื้อขาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีธุระดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคนซึ่งจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ อันคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ผู้มีทรัพย์มากมีโภคะมาก ทราบได้เช่นนี้ว่าท่านพ่อค้าผู้นี้แล เป็นคนมีตาดี มีธุระดี สามารถที่จะเลี้ยงบุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลาได้ เขาต่างก็เชื้อเชิญพ่อค้านั้นด้วยโภคะว่า แน่ะท่านพ่อค้าผู้สหาย แต่นี้ไปท่านจงนำเอาโภคะไปเลี้ยงดูบุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยบุคคลซึ่งเป็นที่พึ่งได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมจะถึงความมีโภคะมากมายเหลือเฟือไม่นานเลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมไม่นานเลย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจักษุ ๑ มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเข้าไปหาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลา แล้วไต่ถาม สอบสวนว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้อย่างไร ความแห่งพระพุทธพจน์นี้อย่างไร ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยธรรมที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำธรรมที่ยังมิได้ทำให้ตื้นแล้วให้ตื้น และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมิใช่น้อยแก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมทั้งหลายไม่นานเลย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีตาดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ย่อมรู้สิ่งที่จะพึงซื้อขายว่า สิ่งที่พึงขายนี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไปเท่านี้ จักได้ทุนเท่านี้ มีกำไรเท่านี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีตาดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่ามีธุระดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนฉลาดที่จะซื้อและขายสิ่งที่ตนจะพึงซื้อขาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีธุระดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคนซึ่งจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ อันคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ผู้มีทรัพย์มากมีโภคะมาก ทราบได้เช่นนี้ว่าท่านพ่อค้าผู้นี้แล เป็นคนมีตาดี มีธุระดี สามารถที่จะเลี้ยงบุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลาได้ เขาต่างก็เชื้อเชิญพ่อค้านั้นด้วยโภคะว่า แน่ะท่านพ่อค้าผู้สหาย แต่นี้ไปท่านจงนำเอาโภคะไปเลี้ยงดูบุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยบุคคลซึ่งเป็นที่พึ่งได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมจะถึงความมีโภคะมากมายเหลือเฟือไม่นานเลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมไม่นานเลย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจักษุ ๑ มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอเข้าไปหาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลา แล้วไต่ถาม สอบสวนว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้อย่างไร ความแห่งพระพุทธพจน์นี้อย่างไร ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยธรรมที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำธรรมที่ยังมิได้ทำให้ตื้นแล้วให้ตื้น และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมิใช่น้อยแก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมทั้งหลายไม่นานเลย ฯ
จบรถการวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ญาตกสูตร ๒. สรณียสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. จักกวัตติสูตร
๕. ปเจตนสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. อัตตสูตร ๘. เทวสูตร ๙. ปาปณิกสูตรที่ ๑
๑๐. ปาปณิกสูตรที่ ๒ ฯ
๕. ปเจตนสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. อัตตสูตร ๘. เทวสูตร ๙. ปาปณิกสูตรที่ ๑
๑๐. ปาปณิกสูตรที่ ๒ ฯ
----------------------------------------------------