
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
[๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ฯ
[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสละอามิส ๑ การสละธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้ การสละธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริจาคอามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาคธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริโภคอามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสมโภคอามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสมโภค ๒ อย่างนี้ การสมโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การจำแนกอามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสละอามิส ๑ การสละธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้ การสละธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริจาคอามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาคธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริโภคอามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสมโภคอามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสมโภค ๒ อย่างนี้ การสมโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การจำแนกอามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
จบทานวรรคที่ ๓